วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

แต่งกลอนถวายความอาลัย(พ่อหลวงของแผ่นดิน)

แต่งเอง.......'' บทกลอนถวายความอาลัย '' 

( พ่อหลวงของแผ่นดิน )

...............ถวายความอาลัย ( พ่อหลวงของแผ่นดิน )..............

วันสิบสามตุลามาบรรจบ...................ทั้งพิภพ พสุธา แสนกำสรวล

ดั่งฟ้าฟาดลงมาดังคร่ำครวญ .........................ช่างแสนหวนโศกาสุดฤทัย

พระบิดรสยามจากไปแล้ว ........................ดั่งดวงแก้วแสงเทียนดับแขไข

น้ำตาท่วมทั่วราษฏร์สุดอาลัย.............................ภูวนัยพ่อหลวงภูมิพล

เจ็ดสิบปีครองราชย์ทรงงานหนัก.......................มิหยุดพักทรงเสด็จทุกแห่งหน

ต่อให้เหนื่อยทุกข์ยากตรากตรำตน............................มิทรงบ่นพระเสโทหลั่งลงดิน

ทรงก่อตั้งโครงการทุกทั่วทิศ............................ทุกชีวิตผาสุขแสนถวิล

ประชาชนชาวไทยได้อยู่กิน............................ดั่งฝนรินจากฟ้าชโลมใจ

ทรงมิเคยทอดทิ้งประชาราษฎร์..........................ภูวนาททรงเมตตาช่างผ่องใส

ทรงให้การศึกษาประชาชัย................................สร้างวินัยความรู้มุ่งสู่ตน

ทรงแนะนำแนวทางเศรษฐกิจ...............................ใช้ชีวิตพอเพียงแลเห็นผล

สร้างฐานะเป็นอยู่ได้ด้วยตน................................ให้เป็นคนเข้มแข็งสู้ชีวา

ทรงประกาศรวมใจคนในชาติ.................................ทรงประกาศอุปถัมภ์ศาสนา

ทรงเป็นจอมทัพไทยเจ้าพระยา..........................สร้างแสนยานุภาพกองทัพไทย

ทรงเป็นศูนย์รวมใจไทยทั้งชาติ.............................ทุกทั่วราษฎร์น้อมจิตพิศมัย

แลก้มกราบพระบาทด้วยฤทัย..............................นับถือนัยพระบิดรของปวงชน

แม้พระองค์ทรงจากลูกไปแล้ว.............................ดั่งดวงแก้วสลายกลางสายฝน

ลูกขอกราบพระบาทด้วยจิตตน..............................ขอกุศลต่อองค์ภูวนัย

ด้วยกุศลสร้างมาของข้าจิต.................................มอบอุทิศพระองค์ด้วยผ่องใส

ขอเป็นรองพระบาททุกชาติไป...................................เสด็จในสรวงสวรรค์นิจนิรันดร์.

....................................................................................................................................................................................

** ขอน้อมส่งเสด็จพระองค์สู่สวรรคาลัย **

**    ข้าพระพุทธเจ้า นายสุทธิเกียรติ วัชรกิตติ  และครอบครัว ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม  สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้    **

ปล. แต่งไป น้ำตาไหลไป บอกตรงๆ ผมคิดถึงพระองค์ท่าน จริงๆครับ.!!!............T__T........................



******************************************************************************************
พระทรงเป็นดั่งสายฝนชโลมจิต    ทั่วทุกทิศโปยปรายทุกถิ่นที่
ต่อแต่นี้สิ้นแล้วพระภูมี                ร้อยวจีมิอาจกลั้นความอาลัย

ขอพระองค์สู่สวรรคาลัย     ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป...
******************************************************************************************
จากไปแล้วพระมิ่งแก้วปวงขวัญหล้า ชาวประชาน้ำตานองหน้าไหล
70 ปีที่พ่ออยู่ดูแลไทย เราซึ้งใจในความรักของพระองค์
เกิดชาติไหนขอตามไปทุกที่ เป็นข้าบาทพ่อนี้ทุกแห่งหน
ขอบารมีพ่อหลวงของปวงชน คุ้มครองประชาชนชาคิไทยนิจนิรันตร์
******************************************************************************************
ธ ทรงเป็น ดั่งน้ำทิพย์ ชโลมจิต
ทั่วทุกทิศ ชุ่มช่ำแผ่ไพศาล
ด้วยพระบารมี ยิ่งยืนนาน
ไทยสราญ สุขทั่ว ทั้งธานี
แต่บัดนี้ สิ้นแล้ว องค์ภูมินทร์
พลังแผ่นดิน ของไทย มิ่งขวัญศรี
พระเมตตา ของพระองค์ ๗๐ ปี
สถิตย์ที่ ดวงใจ ไทยนิรันดร์

ปวงข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดไม่ได้   
ข้าพระพุทธเจ้า นางสาวธัญญเนษฐ์  พูนนิกร และ ครอบครัว
******************************************************************************************
“พระราชา” ทรงงานหนัก เพื่อให้ราษฎร์ สุขกายใจ
เสด็จเยือน ทั่วแดนไทย เพื่อราษฎร์ได้ อยู่ร่มเย็น
พระทรงงาน มิรู้เหนื่อย ใกล้ไกลเยือน ดับทุกข์เข็ญ
ประชาราษฎร์ สิ้นลำเค็ญ เพราะพ่อเป็น ร่มโพธิ์ไทร
ณ ยามนี้ เสด็จแล้ว สวรรค์แก้ว วิมานใส
เหล่าข้าบาท ปานขาดใจ โศกอาลัย โศกอาวรณ์
พระทูลกระหม่อมแก้ว นิราศแล้ว จากแท่นบรรจถรณ์
ปวงข้าพระบาท ราษฎร พนมกรกราบองค์ “พระภูมินทร์”

ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า นางสาวกนกพร นิลเป็ง และครอบครัว
*****************************************************************************************
โอ้อาลัยใจข้าพระพุทธเจ้า
ยังโศกเศร้าอาดูรไม่สูญหาย
พระแลลับนับทิวาพาฟูมฟาย
ยากต่อรายเรียงร้อยถ้อยความจน
ถึงพระคุณการุณหนุนนำชาติ
เป็นนักปราชญ์เสียสละอันมากล้น
ทรงสั่งสอนวิทยาพึ่งพาตน
ธ บันดลคนไทยพ้นภัยพาลฯ
******************************************************************************************
.........ถวายความอาลัย ( พ่อหลวงของแผ่นดิน )..............

วันสิบสามตุลามาบรรจบ...................ทั้งพิภพ พสุธา แสนกำสรวล

ดั่งฟ้าฟาดลงมาดังคร่ำครวญ .........................ช่างแสนหวนโศกาสุดฤทัย

พระบิดรสยามจากไปแล้ว ........................ดั่งดวงแก้วแสงเทียนดับแขไข

น้ำตาท่วมทั่วราษฏร์สุดอาลัย.............................ภูวนัยพ่อหลวงภูมิพล
******************************************************************************************
อ้างอิง http://pantip.com/topic/35701179

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่

แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ 


เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา  และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

นักวิชาการไทยหลายคนร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา เชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน

ด้านสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน  โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ


หลักปรัชญา
              
...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นอันพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป

หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง

แผนภาพแสดงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข



ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"

ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล

และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่าง ๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ

โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน

ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่าง ๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา

อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น

"ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" 

ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า

"คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"

ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้

เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น

จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ" และ "การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"
การนำไปใช้

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า "สังคมสีเขียว" 

ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท

แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1) ความว่า: "บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน


โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ"
สุรเกียรติ เสถียรไทย ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ในการประชุมสุดยอด The Francophonie Ouagadougou ครั้งที่ 10 ที่ประเทศบูร์กินาฟาโซ ว่าประเทศไทยได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับ "การพัฒนาแบบยั่งยืน" 

ในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านการเกษตรกรรม เศรษฐกิจ และการแข่งขัน ซึ่งเป็นการสอดคล้องเป้าหมายแนวทางของนานาชาติในประชาคมโลก โดยยกตัวอย่างการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ซึ่งเมื่อยึดหลักปรัชญาในการแก้ปัญหาสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ของไทยเติบโตได้ถึงร้อยละ 6.7

นอกจากเศรษฐกิจพอเพียงจะมีประโยชน์ต่อประเทศไทย ทั้งยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาในต่างประเทศ การประยุกต์นำหลักปรัชญาเพื่อนำไปพัฒนาประเทศในต่างประเทศเหล่านั้น 

ประเทศไทยได้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนผ่านทางสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยมีหน้าที่คอยประสานงานรับความช่วยเหลือทางวิชาการด้านต่าง ๆ จากต่างประเทศมาสู่ภาครัฐ แล้วถ่ายทอดต่อไปยังภาคประชาชน และยังส่งผ่านความรู้ที่มีไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ

เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศได้ถ่ายทอดมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี 

และประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต่างชาติก็สนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพราะพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ ซึ่งแต่ละประเทศมีความต้องการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่เหมือนกัน 

ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิต สภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ โดยได้ให้ผู้แทนจากประเทศเหล่านี้ได้มาดูงานในหลายระดับ ทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบาย จนถึงระดับปลัดกระทรวง และรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่าง ๆ 

นอกจากนั้นอดิเทพ ภาณุพงศ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้กล่าวว่า ต่างชาติสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

เนื่องจากมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยราษฎรของพระองค์ และทราบสาเหตุที่รัฐบาลไทยนำมาเป็นนโยบาย ส่วนประเทศพัฒนาแล้วก็ต้องการศึกษาเพื่อนำไปช่วยเหลือประเทศอื่น

ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวถึงผลสำเร็จอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงโดยองค์การสหประชาชาติ คือ "สหประชาชาติเห็นด้วยกับพระมหากษัตริย์ในเรื่องนี้ [เศรษฐกิจพอเพียง] โดยเริ่มใช้มาตรวัดคุณภาพชีวิตในการวัดความเจริญของแต่ละประเทศ แทนอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งกล่าวถึงแต่ความเจริญทางเศรษฐกิจเท่านั้น"


วาระทางการเมือง

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองอ้างว่านโยบายของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ไม่เข้ากับทฤษฎีนี้[ และคำปรารถของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ระบุว่า การส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงเป็นบทบาทมูลฐานอย่างหนึ่งของรัฐ


การตอบรับ

ความเข้าใจของประชาชนชาวไทย
ปัญหาหนึ่งของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ก็คือ ผู้นำไปใช้อาจยังไม่ได้ศึกษาหรือไม่มีความรู้เพียงพอ


การเชิดชู

13 นักคิดระดับโลกเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และมีการนำเสนอบทความ บทสัมภาษณ์ต่าง ๆ เช่น

ศ.ดร. วูล์ฟกัง ซัคส์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมคนสำคัญของเยอรมนี สนใจการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมาก และมองว่าน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับทุกชาติในเวลานี้ ทั้งมีแนวคิดผลักดันเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่รู้จักในเยอรมนี

ศ.ดร. อมาตยา เซน ศาสตราจารย์ชาวอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 1998 มองว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการใช้สิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ และใช้โอกาสให้พอเพียงกับชีวิตที่ดี ซึ่งไม่ได้หมายถึงความไม่ต้องการ แต่ต้องรู้จักใช้ชีวิตให้ดีพอ อย่าให้ความสำคัญกับเรื่องของรายได้และความร่ำรวย แต่ให้มองที่คุณค่าของชีวิตมนุษย์

จิกมี ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศภูฏาน ให้ทรรศนะว่า หากประเทศไทยกำหนดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวาระระดับชาติ และดำเนินตามแนวทางนี้อย่างจริงจัง

"ผมว่าประเทศไทยสามารถสร้างโลกใบใหม่จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างชีวิตที่ยั่งยืน และสุดท้ายจะไม่หยุดเพียงแค่ในประเทศ แต่จะเป็นหลักการและแนวปฏิบัติของโลก ซึ่งหากทำได้สำเร็จ ไทยก็คือผู้นำ"

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ โดย นายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด

และนาย Hakan Bjorkman รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติในประเทศไทย กล่าวเชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยังได้ตระหนักถึงวิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและองค์การสหประชาชาติยังได้สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศให้ยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืนการวิพากษ์

อย่างไรก็ตาม ศ. ดร. เควิน ฮิววิสัน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา แชพเพลฮิลล์ ได้วิจารณ์รายงานขององค์การสหประชาชาติโดยสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ที่ยกย่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่า รายงานฉบับดังกล่าวไม่ได้มีเนื้อหาสนับสนุนว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็น “ทางเลือกที่จำเป็นมากสำหรับโลกที่กำลังดำเนินไปในเส้นทางที่ไม่ยั่งยืนอยู่ในขณะนี้” เลย

และกล่าวว่าเนื้อหาในรายงานแทบทั้งหมดเป็นเพียงการเทิดพระเกียรติ และเป็นเพียงเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อภายในประเทศเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์อีกว่าแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรูปแบบที่ไม่มีความแตกต่างไปจาก "ความนิยมท้องถิ่น" (Localism) เลย



ทฤษฎีใหม่
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวนที่จัดแสดง "แนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานราชพฤกษ์ 2549
เกษตรทฤษฎีใหม่ หรือ ทฤษฎีใหม่

เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ

ได้แก่ พื้นที่น้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นที่นาปลูกข้าว พื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชไร่นานาพันธุ์ และที่สำหรับอยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์
ในอัตราส่วน 3:3:3:1 เป็นหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนี้

1 มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
2 มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียง ต่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี
3 มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย 3 ขั้นตอน เพื่อให้พอเพียงสำหรับเลี้ยงตนเองและเพื่อเป็นรายได้
พื้นที่โครงการตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่

* โครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน บ้านแดนสามัคคี ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
* โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ปักธงชัย หรือ ทฤษฎีใหม่บ้านฉัตรมงคล ตำบลปักธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
* โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ปากท่อ, โครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ตำบลวันดาว อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
* โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่หนองหม้อ ตำบลหนองหม้อ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

อ้างอิง http://www.photoontour.com/SpecialPhotos_HTML/60thcelebration/king_data7.htm