วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

18 มกราคม วันกองทัพไทย วันยุทธหัตถี และวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช





วันกองทัพไทย
           18 มกราคม วันกองทัพไทย และถือเป็นวันยุทธหัตถี และวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อีกด้วย มาเรียนรู้ประวัติความเป็นมาไปด้วยกัน
 
             เราทุกคนต่างรู้จัก "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" เป็นอย่างดี ทั้งจากในหนังสือเรียน ละคร ภาพยนตร์ รวมถึงเรื่องเล่าต่าง ๆ จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน ว่าท่านทรงเป็นวีรกษัตริย์นักรบที่มีพระปรีชาสามารถ และยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่กอบกู้เอกราชให้ชาติไทยอีกด้วย ดังนั้น วันที่ 18 มกราคมของทุกปี รัฐบาลจึงกำหนดให้เป็นวันกองทัพไทย วันยุทธหัตถี และวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปรู้จักกับวันสำคัญนี้กันค่ะ

วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ความเป็นมาวันกองทัพไทย วันยุทธหัตถี และวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


             ความเป็นมาวันกองทัพไทยนั้น เกิดขึ้นจากสงครามยุทธหัตถีในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2135 ในครั้งนั้นพระเจ้านันทบุเรงได้ให้พระมหาอุปราชายกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทราบข่าว จึงยกทัพหลวงไปตั้งรับที่หนองสาหร่าย ซึ่งระหว่างที่การรบกำลังดำเนินอยู่นั้น ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเอกาทศรถก็ได้ไล่ล่าศัตรูไปจนออกนอกเขตแดน จนทำให้ทั้งสองพระองค์ตกไปอยู่ในวงล้อมของศัตรูโดยไม่รู้ตัว

             แต่ถึงแม้จะอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ พระองค์ก็มีพระสติ ไม่หวั่นไหว และทรงแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ว่าทางที่จะรอดได้มีเพียงทางเดียวเท่านั้น คือเชิญพระมหาอุปราชาเสด็จมาทำยุทธหัตถี ในท้ายที่สุดพระองค์ก็สามารถกระทำยุทธหัตถีได้รับชัยชนะอย่างสมพระเกียรติ และนับตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกเลย ทำให้ในสมัยนั้นไทยได้ขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวางกว่าสมัยใด ๆ ซึ่งการทำยุทธหัตถีในครั้งนั้น ถือว่าเป็นการทำยุทธหัตถีที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย และยังเป็นการรบบนบกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกด้วย 
 

             ในการนี้กองทัพไทยจึงถือเอาวันที่พระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา เป็น "วันกองทัพไทย" เรียกกันอีกอย่างว่า "วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" หรือ "วันยุทธหัตถี" เป็นวันรัฐพิธี แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ

             ทั้งนี้ แต่เดิมมีการระบุว่า วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชานั้น ตรงกับวันที่ 25 มกราคม ต่อมามีการคำนวณวันใหม่ จึงกำหนดให้วันที่ 18 มกราคมของทุกปีเป็น “วันยุทธหัตถี” และเป็นวันรัฐพิธีแทนวันที่ 25 มกราคม โดยให้มีการวางพานพุ่มสักการะ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการเช่นกัน

            การที่มีการเปลี่ยนแปลงวันทั้งสองนั้น เนื่องจากเป็นการนับวันทางสุริยคติ ซึ่งคนปัจจุบันจะสามารถจำได้ง่ายมากกว่า และมีความเหมาะสมกว่า อีกทั้ง นายประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ก็ได้คำนวณแล้ว พบว่าการนับวันทางจันทรคติของวันกระทำยุทธหัตถีเดิมที่ตรงกับวันจันทร์ เดือน 2 แรม 2 ค่ำ จุลศักราช 954 ที่กำหนดเป็นวันที่ 25 มกราคมนั้น คลาดเคลื่อน จึงได้มีการเปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริง คือ เป็นวันที่ 18 มกราคมดังกล่าว ดังนั้น วันที่ 18 มกราคม จึงถือเป็น "วันยุทธหัตถี" หรือ "วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"



พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

             สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยลำดับที่ 18 แห่งราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระโอรสองค์โตของพระสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าและพระวิสุทธิกษัตรีย์ ภายหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า สมเด็จพระนเรศวรได้ถูกนำเป็นองค์ประกันที่เมืองหงสาวดี

            ในระหว่างที่พำนักอยู่ที่นั่น พระองค์ได้ศึกษาวิชาความรู้ ความสามารถต่าง ๆ ด้วยความหวังที่แรงกล้าว่าจะได้กลับมากู้ชาติกู้แผ่นดินอีกครั้ง แต่ด้วยความที่สมเด็จพระนเรศวรเป็นผู้ที่มีความกตัญญูรู้คุณ พระองค์จึงไม่อยากที่จะทำการใด ๆ ในระหว่างที่พระเจ้าบุเรงนองยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ แต่พอภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรก็ได้กลับมายังพระนครศรีอยุธยาบ้านเกิดอีกครั้ง และด้วยความสามารถที่เป็นเลิศทางด้านการศึกของพระองค์ โดยเฉพาะการทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ก็ทำให้พระองค์สามารถกู้บ้านเมืองคืนมาได้อีกครั้ง จนเป็นที่น่าเกรงขามของข้าศึก


ความหมายของยุทธหัตถี

             ยุทธหัตถี หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์มาแต่โบราณกาล ถือเป็นความเชื่อมาแต่โบราณว่า ยุทธหัตถีหรือการชนช้างนั้น เป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้ตัวต่อตัว จะแพ้หรือชนะก็ขึ้นอยู่กับความเก่งกล้า ว่องไว รวมถึงความชำนาญในการขี่ช้าง ดังนั้น เมื่อกษัตริย์พระองค์ใดทำยุทธหัตถีชนะ ก็จะได้รับการยกย่องว่ามีพระเกียรติยศสูงสุด หรือแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบที่แท้จริง นอกจากนี้ในสมัยอยุธยา มีการทำยุทธหัตถี รวม 3 ครั้ง คือ 

             - ครั้งแรก ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อครั้งพระอินทราชาพระเจ้าลูกยาเธอได้ชนช้างกับข้าศึกที่นครลำปาง และถูกปืนสิ้นพระชนม์

             - ครั้งที่สอง ในสมัยพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งได้ชนช้างกับพระเจ้าแปรกรุงหงสาวดี การทำยุทธหัตถีในครั้งนั้นส่งผลให้สมเด็จพระศรีสุริโยทัยต้องสิ้นพระชนม์

             - ครั้งที่สาม สมเด็จพระนเรศวรมหาราชชนช้างกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี จนได้รับชัยชนะ ซึ่งยุทธหัตถีในครั้งนั้นถือได้ว่าเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ และเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้พระเกียรติยศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นที่เลื่องลือไปไกล


บทบาทของกองทัพไทย


             เนื่องในวันที่ 18 มกราคม ถือเป็นวันกองทัพไทยด้วยอีกหนึ่งวัน เราจึงควรทราบถึงบทบาทของกองทัพไทยซึ่งมีหน้าที่ที่สำคัญต่อประเทศมากมาย ล้วนแต่เป็นหน้าที่ที่สำคัญต่อประเทศชาติ ดังนี้

             - การป้องกันประเทศ


             กองทัพไทยได้จัดทำแผนการป้องกันประเทศไว้สำหรับรับสถานการณ์จากภัยคุกคามทุกด้าน และจัดให้มีการฝึกกองทัพไทยทุกปี รวมถึงมีการจัดเตรียมกำลังรบพร้อมปฏิบัติการตามแผนตั้งแต่ยามปกติและยามคับขัน รวมทั้งแก้ปัญหาผู้อพยพและผู้ที่หลบหนีเข้าเมือง 

             - การรักษาความมั่นคงภายใน


             กองทัพไทยให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมถึงปฏิบัติการด้านการข่าวเพื่อให้ได้ความร่วมมือจากประชาชนในการให้ข่าวสารกับทางราชการ และปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน

             - การรักษาผลประโยชน์ของชาติ


             กองทัพไทยมีบทบาทสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทั้งทางบกและทางทะเล ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า รักษาเส้นทางคมนาคมทางทะเล ช่วยแหลือผู้ประสบภัย และบรรเทาสาธารณภัย

             - การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ


             กองทัพไทยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่ประชาชน รวมถึงการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไว้ 

             - การพัฒนาประเทศ


             การพัฒนาประเทศของกองทัพไทยนั้น คือการกำหนดแผนการปฏิบัติงานประจำปีของแต่ละหน่วย โดยใช้กำลังพลและงบประมาณของกองทัพในการดำเนินการ รวมถึงสนับสนุนภาครัฐและเอกชนตามโครงการพัฒนาประเทศ และพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ

วันกองทัพไทย
ภาพจาก Jukgrit Chaiwised


กิจกรรมที่ทำในวันกองทัพไทย

             กิจกรรมที่จะกระทำในวันกองทัพไทย คือ

             - พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล หรือที่เรียกว่า "สวนสนามสาบานธง" ซึ่งเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์สำหรับทหาร และเป็นการระลึกถึงวีรกรรม

             - ทำบุญตักบาตร เพื่ออุทิศเป็นส่วนพระราชกุศลและกุศลแก่บรรพบุรุษ

             - ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ

             - จัดแสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับความเป็นมาของความกล้าหาญแห่งวีรกษัตริย์ไทย และวันกองทัพไทย

             ดังนั้น ในฐานะที่เราเป็นคนไทย เกิดบนแผ่นดินไทย เราทุกคนจึงควรตระหนักในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มั่นทำความดีและดูแลบ้านเมืองให้สงบสุข และที่สำคัญที่สุดคือควรสามัคคี เพื่อที่เราจะได้อยู่กันอย่างสงบ และเพื่อตอบแทนพระคุณของพระองค์ท่าน ที่ได้ทรงเสียสละเลือดเนื้อเพื่อปกป้องรักษาแผ่นดินไทยของเราให้ได้อยู่มาจนถึงทุกวันนี้

ภาพจาก culture.go.thวิกิพีเดีย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
culture.go.th


อ้างอิง  https://hilight.kapook.com/view/55367
 

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560

13 บทเพลงถึงพ่อหลวง ในวันครบรอบ 1 เดือนที่พ่อหลวงรัชกาลที่๙ ไม่อยู่

13 บทเพลงถึงพ่อหลวง ในวันครบรอบ 1 เดือนที่พ่อหลวงรัชกาลที่๙ ไม่อยู่

วันนี้ วันที่๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ครบหนึ่งเดือนแล้วที่ พ่อหลวงจากไปสู่สวรรคาลัย
มีบทเพลงมากมาย  ที่หลายศิลปิน กลั่นหัวใจ ร้อยเรียง ขับร้องถึงพ่อหลวง
วันนี้ จึงขอหยิบ 13 บทเพลง ที่เขียนถึงพ่อ มาฝากกัน

ยังมีบทเพลงอีกมากมาย ที่ไม่ได้ถุกหยิบมาให้ฟังในวันนี้
ในโอกาสต่อไปจะได้นำมาให้ฟังกัน ในเวบไซต์แห่งนี้ค่ะ

เริ่มกันด้วยบทเพลง

เพลง พ่อภูมิพล - แอ๊ด คาราบาว


เพลงพิเศษที่ ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) แต่งขึ้นมาเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 “พ่ออยู่หัวภูมิพล” ของพสกนิกรชาวไทย ตลอดระยะเวลา 70 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติ พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ อันเป็นประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทย ดังปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสู่สวรรคาลัย ได้ยังความเศร้าโศกเสียใจแก่บรรดาพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ นับเป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศและประชาชนชาวไทย

พ่อภูมิพล
คำร้อง/ทำนอง/เรียบเรียง/กีตาร์โปร่ง/ฮาร์โมนิก้า ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว)
บันทึกเสียงและมิกซ์ อ๊อด อ่างทอง @Mongol Studio
มาสเตอร์ริ่ง วู้ดดี้ พรพิทักษ์สุข @Westside Mastering


เล่าสู่หลานฟัง - สลา คุณวุฒิ 【OFFICIAL AUDIO】

https://www.youtube.com/watch?v=N05Hr5MsnOY

ชื่อเพลง : เล่าสู่หลานฟัง
ขับร้อง : สลา คุณวุฒิ
คำร้อง/ทำนอง : สลา คุณวุฒิ
เรียบเรียง : ธีระพงษ์ ศักดิ์แก้ว

นั่งเบิ่งเทียนชัยที่จุดไว้หน้ารูปในหลวง
หลานน้อยมาท้วง ว่าเป็นหยังลุงจึงร้องไห้
เช็ดน้ำตาบ่ทัน จั๊กสิบอกหลานว่าจั่งใด๋
ตั้งแต่ในหลวงจากไป หัวใจก็จุกน้ำตา


13 ตุลา หนึ่งทุ่มตรง - ธเนศ วรากุลนุเคราะห์

ความรู้สึกใดๆที่เกิดขึ้นในค่ำคืนวันที่ 13 ตุลานั้น แม้ยากที่จะลืมหรือลบเลือนไปได้ ขอให้เป็นเพื่อนเตือนใจว่าการสูญเสียผู้ที่เรารักเทิดทูนบูชานั้นเจ็บปวดแค่ไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และเราควรจะทำยังไงต่อไป เชื่อว่าทุกคนจะมีคำตอบของตัวเอง

ธเนศ วรากุลนุเคราะห์
13 ตุลา หนึ่งทุ่มตรง


เหตุผลของพ่อ - ธงไชย แมคอินไตย์


เนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชสมบัติครบ 70 ปี
เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำบทเพลงพิเศษ “เหตุผลของพ่อ”
ขับร้องโดย ธงไชย แมคอินไตย์
คำร้อง/ทำนองโดย กมลศักดิ์ สุนทานนท์ และ ปิติ ลิ้มเจริญ
เรียบเรียงโดย เจษฎา สุขทรามร และ ธิติวัฒน์ รองทอง

ซึ่งบทเพลงพิเศษดังกล่าว จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และ
ร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสปีมหามงคลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงครองราช
สมบัติครบ 70 ปี โดยเนื้อหาของบทเพลงกล่าวถึงตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมา
ในหลวงทรงงานอย่างหนักและทรงเหน็ดเหนื่อยก็เพื่อประชาชนทุกคน


เพลง พ่อครับ ศิลปิน ฟองเบียร์


เพลง พ่อครับ
ศิลปิน ฟองเบียร์
คำร้อง ฟองเบียร์
ทำนอง ปฏิเวธ อุทัยเฉลิม
เรียบเรียง ปฏิเวธ อุทัยเฉลิม
Producer ปฏิเวธ อุทัยเฉลิม
Recording Engineer นที แสนทวี / วิสารท กุลศิริ
Guitar ฟองเบียร์
Mixed ธนวัฒน์ บุญภู

ผมเขียนสิ่งนี้ขึ้นมาหลังทราบข่าวใหญ่ที่สะเทือนหัวใจที่สุด ไม่รู้ว่าทำไมผมถึงไม่รู้สึกว่านี่คือการเขียนเพลงเลย เหมือนผมเขียนจดหมายฉบับนึง ใจความสั้นๆแต่ผมรู้สึกแบบนั้นทุกตัวอักษร แล้วเหมือนผมอ่านข้อความนั้นออกมาเป็นทำนองเพื่อให้พ่อได้รับรู้ว่าผมคิดอะไร รู้สึกอะไร "พ่อครับ" ผมอยากให้พ่อได้ยิน


วันที่พ่อไม่อยู่ Wan Brothers Feat. Jugg Chawin


เนื้อร้อง/ทำนอง : อคิร วงษ์เซ็ง , ธนกฤต พานิชวิทย์
เรียบเรียง : อคิร วงษ์เซ็ง , ชวิน จิตรสมบูรณ์
Mixed/Mastered : อคิร วงษ์เซ็ง
ภาพ : นภัสสร ภูธรใจ
Guitarist : ชวิน จิตรสมบูรณ์
Piano : อคิร วงษ์เซ็ง
Bassist : ธีรัตม์ นิลวดี
Chorus : ชวิน จิตรสมบูรณ์ , ธนกฤต พานิชวิทย์ , อคิร วงษ์เซ็ง , พัดชา เอนกอายุวัฒน์


น้ำตาไม่หยุดไหล ชาวไทยคิดถึงพ่อ | เพชร สหรัตน์ |

เพลงนี้ผมทำขึ้นมา เพื่อส่งเสด็จสวรรค์คาลัย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ หวังว่าพ่อคงจะรับรู้และได้ยินเสียงหัวใจของพวกเราชาวไทยทุกคนนะครับ

ศิลปิน : เพชร สหรัตน์
คำร้อง : เพชร สหรัตน์
ทำนอง : เพชร สหรัตน์
เรียบเรียง : เธค คอนสาร น้ำตาไม่หยุดไหล ชาวไทยคิดถึงพ่อ


เพลง เรื่องเล่าของพ่อ - ไหมไทย หัวใจศิลป์

https://www.youtube.com/watch?v=Di6IfFb_DlY
เพลง เรื่องเล่าของพ่อ
เพื่อแสดงความอาลัยในหลวง ร.๙ ของปวงชนชาวไทย
ขับร้องโดย ไหมไทย หัวใจศิลป์


เพลง ฟ้าร้องไห้ [Official MV]

https://www.youtube.com/watch?v=Tn4nhsn0SLA
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ และเพื่อแสดงความอาลัยแด่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ชลธี ธารทอง ศิลปินแห่งชาติและครูเพลง ร่วมกับ บมจ.เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
นำทัพศิลปินลูกทุ่งระดับแถวหน้าของเมืองไทยร่วมขับร้องเพลง “ฟ้าร้องไห้”
จากก้นบึ้งหัวใจของครูชลธี ธารทอง ที่มีต่อการสูญเสียครั้งใหญ่
เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกแทนใจคนไทยทั้งประเทศ
อาทิ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, ผ่องศรี วรนุช, สดใส รุ่งโพธิ์ทอง, ชินกร ไกรลาศ, สุนารี ราชสีมา, ดาว มยุรี, ศิรินทรา นิยากร,
จิ้งหรีดขาว วงศ์เทวัญ, อำพร แหวนเพ็ชร, ยุ้ย ญาติเยอะ, กมลาสน์ เอียดศรีชาย, จันทร์จวง ดวงจันทร์, กาญจนา มาศิริ,
เจเน็ต เขียว, ดวงจันทร์ สุวรรณี, ไชยา มิตรชัย, เอกชัย ศรีวิชัย, พรศักดิ์ ส่องแสง, บำเรอ ผ่องอินทรกุล,
ศราวุธ พลอยประดับ, ฝน ธนสุนธร, อาจารียา พรหมพฤกษ์, มนต์สิทธิ์ คำสร้อย, ศุภณัฐ เฉลิมชัยเจริญกิจ,
ชาณัชชา รากแก่น, ฐิภารินทร์ ยอดธนา, ดำรง วงศ์ทอง, ยิ้ม สุทธิดา, แตงกวา ณัฐรดา,
แอม เอวสะออน, มนัสวิน นันทเสน, ปีเตอร์ โฟดิฟาย ท็อปไลน์, หนู มิเตอร์, ปอยฝ้าย มาลัยพร, ดวงดี ศรีวิชัย,
เดชาธร สุวินิจจิต, ศุภวรรณ คำบุตร, รวมมิตร คงชาตรี, สุทธิยา รอดภัย, ชลที ศรีแก้ว, อภิรักษ์ สัตย์ชาพงษ์,
มาลิสา ชุบขุนทด, จักรพันธ์ หาญภิรมย์, จักรพงศ์ หาญภิรมย์, อนัญญา เนตร์นิยม, ปรัชญาลักษณ์ โชติวุฑฒินันท์,
จุฑาภรณ์ ช่างวาด, ชนิสรา เพชรคง, กนกวรรณ วันทะวงษ์ ฯลฯ


เพลงเเผ่นดินพ่อ (อี๊ด โอภากุล) แฝดผู้พี่ (แอ๊ด คาราบาว)

https://www.youtube.com/watch?v=3F4gUJenFt0

เพลง ตราบนานเท่านาน รัชกาลที่๙ - เบิ้ล ปทุมราช

https://www.youtube.com/watch?v=jH_mDbYFtVE

ຮັກພໍ່ huk phor - ປຸກກີ້ເງິນລ້ານ ( รักพ่อ - เพลงลาว ) ปุ๊กกี้ รักพ่อ
https://www.youtube.com/watch?v=Ztxxnw1Vlf8


เพลง ลำภูไทด้วยหัวใจที่ฮักพ่อ | ไมค์ทองคำหมอลำฝังเพชร

https://www.youtube.com/watch?v=zFMt9a2su-Y
บทเพลง ถวายความอาลัย และ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
เพลง ลำภูไทด้วยหัวใจที่ฮักพ่อ:ไมค์ทองคำหมอลำฝังเพชร
คำร้องและทำนอง : สลา คุณวุฒิ

อ้างอิง http://thaibansinlapin.blogspot.com/2016/11/13-1.html#.WDT9Vrn5fs0